https://www.rws.ac.th/picupload/update/1632869724_nn78gd2b.jpg
กิจกรรมการทำหัวโขนกระดาษได้พยายามคงไว้ซึ่งรูปลักษณะของงานหัวโขนต้นแบบ ซึ่งเป็นงานประณีตศิลป์ที่ทำขึ้นด้วยความสามารถในเชิงช่างและภูมิปัญญาไทย แต่คงไม่อาจไปเปรียบเทียบในความละเอียดประณีตของงานต้นแบบได้ หากต้องการนำกระดาษที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นหัวโขน ซึ่งกิจกรรมการทำหัวโขนกระดาษได้พยายามสร้างสรรค์งาน เพื่อเผยแพร่หัวโขนของไทย ให้เป็นที่รู้จักและชื่นชมในเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้นำกระดาษที่ใช้แล้วมา รีไซเคิล เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
มากที่สุด
กระบวนการทำหัวโขนกระดาษ
1. ประชุมวางแผนงานเพื่อเสนอกิจกรรมขออนุมัติ
2. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เศษกระดาษต่าง ๆ ในการผลิตหัวโขนกระดาษ
3. จัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้กับนักเรียน
4. สาธิตขั้นตอนการทำหัวโขนกระดาษ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ผู้ศึกษาดูงาน และชุมชน
5. ประเมินและสรุปผลการดำเนินกิจกรรม
การทำหัวโขน
วัสดุอุปกรณ์
1. ดินเหนียว
2. ปูนปลาสเตอร์
3. กระดาษหนังสือพิมพ์/กระดาษสอบ/กระดาษทั่วไป
4. แป้งมันไว้ทำกาวแป้งเปียก
5. สี พู่กัน จานสี กรรไกร มีดคัตเตอร์
วิธีการทำ
1. ทำแม่พิมพ์หุ่นหัวโขนเตรียมรูปหุ่น หุ่นในที่นี้คือ หุ่นหัวโขน แบบต่างๆ ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบสำหรับทำหัวโขน หุ่นเป็นต้นแบบ ที่จะใช้กระดาษปิดทับให้ทั่วแล้ว ถอดออกเป็น หัวโขน ซึ่งภายในกลวงเพื่อที่จะใช้สวมครอบศีรษะได้พอเหมาะ หุ่นหัวโขนชนิดสวมครอบศีรษะและปิดหน้ามักทำเป็นหุ่นอย่าง รูปโกลน มีเค้ารอย ตา จมูก ปาก ขมวดผม ทั้งนี้ใช้วิธีการปั้นหุ่นเอง
2. ทำบล็อกแม่พิมพ์หุ่นหัวโขนปูนปลาสเตอร์ ใช้ปูนปลาสเตอร์หล่อแบบหุ่นหัวโขน
3. เมื่อปูนปลาสเตอร์แข็งตัวให้นำดินเหนียวออกจากแบบปูนปลาสเตอร์ทำการล้างให้สะอาด
4. การหล่อปูนซีเมนต์จากแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ เมื่อล้างบล็อกแม่พิมพ์ฉาบเรียบร้อยแล้วจึงทำการหล่อปูนซีเมนต์ในแม่แบบปูนพลาสเตอร์
5. สกัดแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ออก ใช้เครื่องมือสกัดอย่างเบามือเพื่อไม่ให้หุ่นข้างในเสียหาย เมื่อขัดหุ่นสะอาดเรียบร้อยแล้ว เตรียมทำขั้นตอน ปิดหุ่น
6. ปิดหุ่นจะใช้กระดาษปิดแม่พิมพ์หุ่นหัวโขน ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ และใช้กาวแป้งเปียกเป็นตัวประสานให้ยึดแน่นทำหลายๆชั้นจนพอใจ (8 - 9 ชั้น)
7. ถอดกระดาษออกจากแม่พิมพ์หัวโขน ใช้เวลาในการตากกระดาษชิ้นงานประมาณ 1 วันเมื่อกระดาษแห้งค่อยๆดึงชิ้นงานออก ผึ่งแดดหรือลมให้แห้งจึงไปสู่ขั้นตอนการ ต่อชิ้นงาน
8. ต่อชิ้นงานหัวโขน เมื่อดึงชิ้นงานออกจากหุ่นแล้วให้ผึ่งลมให้แห้ง จึงนำมาต่อกัน การต่อจะใช้กระดาษกับกาวแป้งเปียกต่อ โดยปะต่อทั้งด้านในและด้านนอกหลังจากนั้น ตากแดดหรือผึ่งลมให้แห้งสนิท เมื่อแห้งสนิทแล้วให้ตกแต่งตัดส่วนเกินเพิ่มส่วนที่ขาดให้สวยงาม หลังจากนั้นนำไปทำขั้นตอนลงสี
9. ลงสีชิ้นงานหัวโขน ให้ร่างแบบก่อน แล้วลงสีตามแบบ
ผลการดำเนินงาน
1. นักเรียนโรงเรียนระหานวิทยามีความสามารถในการทำงานศิลปะ และพัฒนาผลงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทยได้
2. นักเรียนโรงเรียนระหานวิทยาได้ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนมีความรู้และมีความสามารถในการทำงานศิลปะ และพัฒนาผลงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทย
2. โรงเรียนสามารถนำไปจัดแสดงหรือจัดตกแต่งในห้องประชุมหรือห้องเรียนได้
3. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปทำขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้
4. ช่วยโรงเรียนลดขยะประเภท กระดาษต่างๆ ได้
5. โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้เพื่อให้ความรู้กับนักเรียน และผู้ที่สนใจในเรื่อง การทำหัวโขนกระดาษ
https://www.rws.ac.th/picupload/update/1632869724_nn78gd2b.jpg