กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School

หลักการและเหตุผล

          ปัจจุบันปัญหาเรื่องของขยะถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการ จัดการขยะต่างๆ อันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่สร้างขยะขึ้นมานั้นเอง โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ที่เป็นขยะสด รวมถึงเศษผัก ผลไม้ ขยะส่วนนี้หากไม่มีการจัดการที่ดีจะส่งผลกระทบเรื่องกลิ่นเหม็น แพร่เชื้อก่อโรค หนูและแมลงสาบอีกทั้งยังเป็นปัญหาของการจัดเก็บของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้องและรวดเร็วแล้วก็จะทำให้เกิดการสะสมของขยะที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆสร้างความยุ่งยากในการจัดการเหล่านี้มากขึ้นตามไปด้วยแต่ขยะสดเหล่านี้เป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ดังนั้นโรงเรียนระหานวิทยาจึง มีความสนใจนำไส้เดือนดิน พันธุ์ African Night Crawler (AF) มาเลี้ยงเพื่อช่วยในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่เหลือใช้ภายในโรงเรียน การใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์นับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถกำจัดขยะอินทรีย์ได้รวดเร็วมากภายใน 5 วัน ได้ผลตอบแทนคือ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และตัวไส้เดือนดิน ซึ่งมูลไส้เดือนดินเป็นปุ๋ยที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้ปลูกพืช ส่งเสริมการออกดอกออกผลของพืช น้ำหมักมูลไส้เดือนดินใช้ปรับสภาพดิน ฟื้นฟูต้นพืชที่เสื่อมโทรมหรือติดโรค และสามารถปรับสภาพน้ำเน่าเสีย ช่วยดับกลิ่นเหม็นของห้องส้วม 

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ที่เหลือใช้ภายในโรงเรียนระหานวิทยา

          2. เพื่อผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือนและน้ำหมักจากมูลไส้เดือนดิน

ความเป็นมา

          “ไส้เดือน”  เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดินใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่มีการสืบพันธุ์แบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ สัตว์ชนิดนี้มักจะมีให้เห็นอยู่ทั่วไปภายในบริเวณรอบบ้านตามแหล่งหรือสถานที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนกันเป็นอาชีพ และมีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไส้เดือนเพิ่มและกว้างมากขึ้น การใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์นับว่าเป็นวิธีการหนึ่ง ที่สามารถกำจัด ขยะอินทรีย์ได้รวดเร็วมากภายใน 5 วัน อีกทั้งยังได้ผลตอบแทนกลับมาอีกนั่นคือ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และตัวไส้เดือนดินซึ่งมูลไส้เดือนดินเป็นปุ๋ยที่ดีมาก เหมาะอย่างยิ่งในการใช้ปลูกพืช ส่งเสริมการออกดอกผลของพืช ส่วนน้ำหมักมูลไส้เดือนดินสามารถนำไปใช้ปรับสภาพดิน ฟื้นฟูต้นพืชที่เสื่อมโทรมหรือติดโรคและสามารถปรับสภาพน้ำเน่าเสีย หรือดับกลิ่นเหม็นของห้องส้วมได้ ประชากรที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ขยะอินทรีย์เป็นปัญหาอย่างมาก ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ในการปลูกพืชจะส่งผลให้สังคมสะอาดขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ลงจำนวนมาก

          1. ชนิดและสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้เลี้ยงในการกำจัดขยะอินทรีย์และผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

          ปัจจุบันพบทั่วโลกประมาณ 4,400 ชนิด โดยแบ่งออกได้ตามลักษณะแหล่งที่อยู่ อาศัยกลุ่มอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน กลุ่มอาศัยในดินชั้นบนที่มีความลึกประมาณ 2030 เซนติเมตร กลุ่มอาศัยในดินชั้นล่างที่มีความลึกประมาณ

2 - 3 เมตร

สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้เลี้ยงในการกำจัดขยะอินทรีย์และผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน มี 4 สายพันธุ์ ดังนี้

สายพันธุ์ที่ 1 อายซิเนีย ฟูทิดา (Eisenia foetida)

ชื่อสามัญ The Tiger worm, Manure worm, Compost worm

          เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวมเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรง มีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้

          - ลำตัวมีขนาด 35 - 130 x 3 - 5 มิลลิเมตร

          - ลำตัวมีสีแดง ร่างระหว่างปล้องและบริเวณปลายหางมีสีเหลือง

          - มีอายุยืนยาว 4 - 5 ปี แต่มักจะอยู่ได้ 1 - 2 ปี เมื่อเลี้ยงในบ่อ

          - สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

          - สร้างถุงไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 150 - 198 ถุง/ตัว/ปี

          - สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี

          - ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32 - 40 วัน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่

          - ใช้เวลาในการเติบโดเต็มวัย 3 - 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล)

          - อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก

          ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย นิยมนำไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ หรือ สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenai Andrei (ไม่ขอกล่าวในที่นี้) มาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์และกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เป็นพันธุ์การค้าที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเลือกใช้สายพันธุ์นี้ คือ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์ โดยพวกมันจะขยายพันธุ์และเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น เป็นพันธุ์ที่มีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิกว้าง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีมาก ทำให้เลี้ยงง่าย

สายพันธุ์ที่ 2 ยูดริลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae)

ชื่อสามัญ African Night Crawler

          - ลำตัวมีขนาด 130 - 250 x 5 - 8 มิลลิเมตร

          - ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา

          - สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

          - จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน

          - สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162 - 188 ถุง/ตัว/ปี

          - ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13 - 27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่

          - ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6 - 10 เดือน

          - อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร

          - มีอายุยืนยาว 4 - 5 ปี

          ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (African night crawler) สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้นอกจากนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้วยังมีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนเสริมสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมาก แต่มีข้อเสียตรงที่ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ต่ำ เลี้ยงยาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วย เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง การเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้ดี สำหรับการเลี้ยงภายนอกโรงเรือน จะเหมาะสมเฉพาะกับพื้นที่เขตร้อน หรือ กึ่งร้อนเท่านั้น สำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์ที่ 3 ลัมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus)

ชื่อสามัญ Red worm, Red Marsh worm, Red wriggler

          - ลำตัวมีขนาด 60 - 150 x 4 - 6 มิลลิเมตร

          - ผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสดร่องระหว่างปล้องมีสีเหลือง

          - เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน

            หรือในกองมูลสัตว์

          - กินเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหาร

          - สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง

          - จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน

          - สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79 - 106 ถุง/ตัว/ปี

          - ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 27 - 45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่

          - ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5 - 6 เดือน

          - มีชีวิตยืนยาว 2 - 3 ปี

          ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ เป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวสีแดง ตัวไม่ใหญ่มาก และลำตัวแบน โดยจะมีลำตัวใหญ่กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ อายซิเนีย ฟูทิดา และเล็กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์หรือกากสิ่งปฏิกูล มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื้นในช่วงกว้าง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก กินเศษซากอินทรียวัตถุได้รวดเร็วมาก และขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างเร็ว เป็นไส้เดือนพันธุ์การค้าที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

 

สายพันธุ์ที่ 4 ฟีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana)

ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่

          - ลำตัวมีขนาด 130 - 200 x 5-6 มิลลิเมตร

          - ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม

          - อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า

            กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยและมูลสัตว์เป็นอาหาร

          - สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

          - จับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน

          - สามารถผลิตถุงไข่ได้ 24 - 40 ถุง/ตัว/ปี

          - ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25 - 30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่

          - ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5 - 6 เดือน มีชีวิตยืนยาว 2 - 4 ปี

          ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทย มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ โดยพบในมูลวัวนม และใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้งในนาข้าว โดยอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับ ไส้เดือนพันธุ์สีเทา ที่อาศัยอยู่ในสวนผลไม้และอยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ชาวบ้านแถบภาคเหนือเรียกว่า “ขี้ตาแร่” ชาวบ้านมักจะนำมาใช้เป็นเหยื่อตกปลา ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้คือ จะมีความตื่นตัว (Active) สูงมาก เมื่อสัมผัสถูกตัวมันจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้ในการนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์พบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้จะสามารพกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ได้หมดอย่างรวดเร็ว หากนำมาเลี้ยงและฝึกให้กินขยะอินทรีย์เหล่านี้ นอกจากกินขยะอินทรีย์เก่งแล้ว ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ยังมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมากด้วย ดังนั้นในการนำไส้เดือนดินมาใช้กำจัดขยะในประเทศไทย ไส้เดือนดินสายพันธุ์ “ขี้ตาแร่” เป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่นับว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและหามาเลี้ยงได้ง่าย

 

การขยายพันธุ์ของไส้เดือน

          1. ไส้เดือนที่เป็นหนุ่มสาวแล้วผลิตไข่ที่เป็น capsule ทุกๆ 7 – 10 วัน

          2. ไข่ที่เป็น capsule ฟัก 14 - 21 วัน

          3. ใน capsule มีลูกไส้เดือน 2 – 20 ตัว เฉลี่ย 4 ตัว

          4. ไส้เดือนเต็มวัย 1 ตัวจะให้ลูกได้ 1,200 – 1,500 ตัวต่อปี

หลักการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน

          การเลี้ยงไส้เดือนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เลี้ยงตั้งแต่แบบง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่น ลงทุนน้อยไปจนถึงการทำโรงเรือนผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูง เช่น เลี้ยงบนพื้นดินโดยทำกองเลี้ยงให้สูงจากพื้นเล็กน้อยหรือขุดร่องเป็นแปลงลงบนพื้นดินปกติ หรือก่ออิฐฉาบปูนเป็นบล็อกเลี้ยงก็ได้ หรือถ้าผลิตปุ๋ยขนาดใหญ่อาจสร้างโรงเรือนถาวร มีระบบการเลี้ยงที่เป็นระบบตั้งแต่การให้อาหารไปจนถึงการเก็บปุ๋ย สำหรับหลังคากันแดด หรือฝนอาจทาด้วยวัสดุง่ายๆ เช่น มุงด้วยหญ้าคา ใบจาก หรือตาข่ายพรางแสง ไปจนถึงการใช้หลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรงอายุใช้งานได้นาน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กในครัวเรือนซึ่งอาจประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ เช่น กะละมัง ถังพลาสติก ยางรถยนต์ วงบ่อปูนซีเมนต์ เป็นต้น

การเตรียมโรงเรือนผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนดิน โรงเรือนกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนดิน

          1. ต้องมีหลังคากันฝนและพรางแสง เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่างในบริเวณบ่อเลี้ยง

          2. ต้องมีตาข่ายปิดด้านบน หรือใช้ตาข่ายกั้นบริเวณด้านข้างรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันสัตว์ที่จะเข้ามากินไส้เดือน

การจัดการโรงเรือน

          1. ในขณะที่ไส้เดือนกำลังกินขยะสดที่ให้ในปริมาณที่เหมาะสม จะพบว่าชั้นของไส้เดือนในกระบะจะมีความสูงมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดการอาหารที่ให้กับไส้เดือนดินกินหมดในระยะเวลา 2 - 3 วัน จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม ทำให้สามารถคำนวณจำนวนของไส้เดือนดินที่มีอยู่ในโรงเรือนได้ อีกทั้งยังทำให้กำหนดปริมาณของมูลไส้เดือนดิน และน้ำจากมูลไส้เดือนดินที่สามารถผลิตได้อีกด้วย

          2. พยายามควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนขึ้นในกระบะที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่ เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่จำกัดการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน และลดจำนวนไส้เดือนดิน รวมถึงลดการกินขยะสดที่จัดเตรียมเอาไว้ด้วย

ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเริ่มกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน

          1. คัดเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่จะนามาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน โดยพิจารณาในด้านอัตราการแพร่พันธุ์ การเจริญเติบโต การอยู่รอด และความด้านทานต่อสภาพแวดล้อม

          2. จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่เลือกใช้โดยพิจารณาจากสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยเดิมในธรรมชาติของไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่จะนามาเลี้ยง ซึ่งหากเลือกใช้พื้นที่ที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านการจัดการควบคุมสภาพแวดล้อมในระบบการผลิตลงได้

          3. ศึกษาถึงแหล่งอาหารของไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่จะนามาเลี้ยงว่าประกอบด้วยอะไรบ้างและสายพันธุ์ดังกล่าวชอบอะไรเป็นพิเศษ เช่น ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์จะมีแหล่งอาหารมาจากมูลสัตว์ ไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใต้เศษซากพืชก็จะมีแหล่งอาหารมาจากเศษพืชเหล่านั้นเป็นต้น

          4. เลือกรูปแบบหรือระบบการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการกาจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมัก โดยง่ายต่อการจัดการ สามารถปรับปรุงพัฒนาระบบการผลิตหรือขยายขนาดของระบบการผลิตต่อไปได้ในอนาคต

          5. จัดหาแหล่งขยะอินทรีย์ที่จะนามาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่เหมาะสมต่อไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่คัดเลือก เช่น เศษขยะสด มูลสัตว์ต่างๆ

การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน

          1. นำขี้วัวตากแดดให้แห้งเก็บเศษฟางออกให้หมด บดขี้วัวให้ละเอียด

          2. นำขี้วัวที่ได้แช่น้ำให้ท่วมโดยเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่เป็นเวลา 3 - 4 วัน

          3. นำขี้วัวที่แช่น้ำแล้วมาใส่ 3 ส่วน 4 ของกะละมังเพื่อเป็นที่อยู่ของไส้เดือนดิน

 รูปแบบการเลี้ยงไส้เดือนด้วยภาชนะแบบต่างๆ (อำนัฐ  ตันโช, 2551)

1. การเพาะเลี้ยงในถังน้ำหรืออ่างพลาสติก  

          1.  เลือกถังน้ำหรืองอ่างพลาสติกสำหรับเพาะเลี้ยงไส้เดือน ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า   12 นิ้ว พร้อมหาอ่างสำหรับรองกันถังหรืออ่างเลี้ยง 

          2. เจาะรูที่ก้นภาชนะเพื่อระบายน้ำมูลไส้เดือนและเจาะฝาปิดภาชนะเพื่อระบายอากาศ                

          3. นำเศษอิฐหรือก้อนหินเล็กๆใส่ในตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มแบนๆวางไว้ที่ก้นถัง เพื่อให้น้ำระบายได้สะดวกและไม้อุดรูที่ก้นภาชนะ  

4. ทำพื้นเลี้ยง แล้วรดน้ำให้ความชื้น 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ 

5. นำวัสดุพื้นเลี้ยงที่ผสมแล้วใส่ลงในภาชนะให้มีความหนาจากก้นภาชนะอย่างน้อย 3 นิ้ว 

          6. นำไส้เดือนมาปล่อยลงหนาแน่นประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (โดยพิจารณาจากปากภาชนะ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ใช้ไส้เดือน 1 กิโลกรัม) 

          7. ใส่มูลวัวตรงกลาง 1 กอง เพื่อเป็นอาหารไส้เดือนและป้องกันไส้เดือนหนีจากสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคย 

          8. นำน้ำยาล้างจานหรือสบู่มาทาที่บริเวณปากภาชนะ เพื่อป้องกันการเลื้อยหนีออกจากภาชนะเลี้ยงในระยะแรก 

          9. ปิดฝาภาชนะเพื่อรักษาความชื้นและกันแมลง หรือสัตว์ศัตรูอื่นๆ  

          10. นำภาชนะไปตั้งไว้บริเวณที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแดดหรือฝน  

          11. นำเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ให้ไส้เดือนย่อยสลาย โดยให้บางๆป้องกันความร้อนจากการหมักหากไส้เดือนย่อยไม่ทันไส้เดือนอาจหนีออกจากภาชนะได้

 

2. การเพาะเลี้ยงในตู้ลิ้นชักพลาสติก 

          1. ลิ้นชักพลาสติกแบบ 4 ชั้น 

          2. เจาะรูระบายอากาศในชั้นบนสุดของลิ้นชัก 

3. เจาะรูที่ลิ้นชักชั้นที่ 2 , 3 และ 4 ยกเว้นชั้นล่างสุดไม่ต้องเจาะ เพื่อใช้สำหรับรองรับน้ำมูลไส้เดือน 

4. ใส่พื้นเลี้ยงลิ้นชักชั้นที่  2 , 3 และ 4 หนาประมาณ 1 ใน 4 ของความสูงชั้นลิ้นชัก 

5. รดน้ำให้ความชื้น 80 - 90 เปอร์เซ็นต์  

6. นำไส้เดือนมาปล่อยชั้นที่ 2 , 3 และ 4 ชั้นละประมาณ 100 ตัว 

7. ทาน้ำยาล้างจานหรือสบู่บริเวณปากลิ้นชัก  

8. นำลิ้นชักไปไว้ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่โดนแดด หรือฝน 

9. ดูแลเติมเศษอาหารอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรเติมหนาเกินไปโดยสังเกตการย่อยของไส้เดือนด้วย

 

3. การเลี้ยงไส้เดือนในวงบ่อซีเมนต์ 

          1. หาวงบ่อปูนซีเมนต์ที่มีพื้นและรูระบายน้ำ 

          2. นำวงบ่อไปไว้ในบริเวณที่ร่ม ไม่โดนแดดหรือฝน อากาศถ่ายเทสะดวก  

3. ล้างวงบ่อด้วยน้ำสะอาด 2 - 3 รอบ แล้วแช่ด้วยต้นกล้วยทิ้งไว้ 3 - 5 วัน เพื่อลดความเค็มของ ปูนซีเมนต์ 

4. นำก้อนอิฐหรือก้อนกรวดใส่ตาข่ายไนล่อนมัดเป็นตุ้มวางไว้อุดบริเวณรูระบายน้ำด้านในวงบ่อ 

5. ใส่พื้นเลี้ยง (ดินร่วนผสมมูลวัวอัตรา 4 ต่อ 1) ใส่ในวงบ่อหนา 3 นิ้ว 

6.  ใส่ไส้เดือน 100 ตัว ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางวงบ่อซีเมนต์ 1 เมตร  

7.  ทาสบู่หรือน้ำยาล้างจานบริเวณขอบบ่อเป็นแถบกว้าง 1 - 2 นิ้ว ป้องกันไส้เดือนหนี 

8.  เติมมูลวัวและเศษขยะอินทรีย์บางๆ อย่าให้เกิดความร้อนจากการหมัก 

9.  ปิดฝาบ่อด้วยวัสดุแผ่นเรียบที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้อัดที่เจาะรูระบายอากาศ บริเวณฝา 

10. คอยสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของไส้เดือนและอาจเติมขยะอินทรีย์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการย่อยของไส้เดือน

ขั้นตอนการทำน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน

วิธีที่ 1

  1. นำมูลไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัมใส่ในถุงผ้าหรือถุงไนล่อน

  2. น้ำมูลไส้เดือนดินลงแช่ในน้ำสะอาด 10 ลิตร

  3. ทิ้งไว้ 1 คืน นำถุงผ้าออกจากถัง แล้วนำน้ำหมักไปใช้ได้

    วิธีที่ 2

  4. นำมูลไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัมใส่ในถุงผ้าหรือถุงไนล่อน

  5. น้ำมูลไส้เดือนดินลงแช่ในน้ำสะอาด 10 ลิตร

  6. เปิดเครื่องทำออกซิเจน แล้วเติมกากน้ำตาล 100 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ 3 - 4 วัน

  7. นำถุงผ้าออกจากถัง แล้วนำน้ำหมักไปใช้ได้

    3. ประโยชน์ของไส้เดือนดิน

              ด้านการศึกษา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา

              ด้านนิเวศวิทยา ทำให้ดินร่วนซุยช่วยให้น้ำ และอากาศถ่ายเทมีธาตุอาหารพืชอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเจริญเติบโตของซากพืช

              ด้านการเกษตร

                       1. ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์โดยธรรมชาติ

                       2. ช่วยปรับปรุงดินเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น

                       3. ช่วยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณค่าต่อพืช

                       4. เป็นอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูง

              ด้านการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล

              ปัจจุบันมีการใช้ไส้เดือนดินช่วยกาจัดขยะและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ได้แก่ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม อุจจาระ และสิ่งขับถ่ายทั้งของคนและสัตว์

     

    ประโยชน์ของมูลไส้เดือนดินต่อพืชและดิน

  8. ส่งเสริมการเกิดเม็ดดินปริมาณอินทรียวัตถุแก่ดิน ช่วยเพิ่มช่องว่างในดินให้การระบายน้ำและอากาศดียิ่งขึ้น ส่งเสริมความพรุนของผิวหน้าดิน ลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน

  9. ช่วยให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายตัวในดินได้กว้าง เพิ่มขีดความสามารถในการดูดซับน้ำในดิน ทำให้ดินชุ่มชื้น

  10. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดินโดยตรง และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์และจุลินทรีย์ดิน ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจะมีส่วนประกอบของกรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จาเป็นต่อพืชหลายชนิดเช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) เหล็ก (Fe) และทองแดง (Cu) ซึ่งธาตุอาหารพืชเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของ กรดฮิวมิค อยู่ในรูปที่พร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ

  11. < >

    ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีปริมาณมากเกินไป เช่น อลูมินัม และแมงกานีส เนื่องจากปุ๋ยหมักจะช่วยดูดยึดธาตุทั้ง 2 ไว้บางส่วน 37

  12. ช่วยเพิ่มความต้านทานในการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรด-เบส (Buffer capacity) ทาให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่เร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช

  13. ช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจะทาให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถขับสารพวกอัลคาลอยด์และกรดไขมันที่เป็นพิษต่อไส้เดือนฝอยได้เพิ่มขึ้น

         8. การใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนเป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้าพืช

     

     

     

     

     

    ประโยชน์ของน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน

              1. ช่วยเร่งการเจริญเติบโต เร่งการแตกยอดของพืช

              2. ช่วยลดการเกิดโรคของพืชและป้องกันแมลงได้

              3. เพิ่มจุลินทรีย์ในดินทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ แก้ไขสภาพดินเสื่อมโทรม และดินแข็ง ช่วยขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ในโถส้วม หรือท่อบำบัดน้ำเสีย

    การเจริญเติบโตของพืชตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่ผสมมูลไส้เดือนดิน

              มีการทดสอบปุ๋ยน้ำมูลไส้เดือนดินที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายขยะอินทรีย์โดยใช้ไส้เดือนดินในการปลูกพืชหลายชนิด เช่น การนามาผลิตไม้ดอกชนิดต่างๆ ภายโรงเรียน รวมทั้งพืชสวนและพืชไร่ชนิดอื่นๆ ภายในฟาร์ม ซึ่งตัวอย่างของพืชที่ปลูกได้ผลดีในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ได้แก่ มะเขือ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี คะน้า สะระแหน่ พริก ดอกรักเร่ โพลีแอนทัส เบญจมาศ ชัลเวีล พิทูเนีย ข้าว ข้าวโพด และพืชปลูกชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งพบว่าพืชเมื่อปลูกในวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจะสามารถเจริญเติบโตได้เร็วและออกดอกได้เร็วกว่าปกติ

    ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินในการผลิตพืช

          เนื่องจากการกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยากและพิเศษกว่าการผลิตปุ๋ยหมักที่ใช้วิธีการหมักโดยทั่วไป ดังนั้นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ได้เมื่อนำมาจำหน่ายจึงมีราคาแพงกว่าปุ๋ยหมักโดยทั่วไปประมาณ 2-5 เท่า จึงมีข้อสงสัยว่าเมื่อนามาใช้ในการผลิตพืชจะเกิดต้นทุนที่สูงเกินไปไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งจากข้อสงสัยดังกล่าวจึงได้มีการศึกษาในคุณสมบัติของปุ๋ยมูลไส้เดือนดินโดยเปรียบเทียบกับปุ๋ยหมักโดยทั่วไปและพบว่า ด้วยคุณลักษณะที่พิเศษของปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ได้นอกจะมีอินทรียวัตถุมากเช่นเดียวกับปุ๋ยหมักโดยทั่วไปแล้วยังมีกรดฮิวมิคที่กักเก็บธาตุอาหารพืชไว้และจะค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชดังกล่าวแก่พืชเมื่อพืชต้องการ ซึ่งธาตุอาหารพืชที่อยู่ในปุ๋ยหมักโดยทั่วไปจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 2-5 วัน เมื่อนำไปใช้แต่ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 6 วัน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยหมักทั่วไปในการปลูกพืชต้องใช้เป็นปริมาณ 2-3 เท่าของปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจึงจะได้ผลเช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ซึ่งการต้องใช้ปุ๋ยหมักที่มากขึ้นและใส่หลายครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านการขนส่งและค่าจ้างในการใส่แต่ละครั้งมากกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นได้ ดังนั้นในการใช้ปุ๋ย มูลไส้เดือนดินย่อมมีความคุ้มค่าต่อการนามาใช้ผลิตพืช โดยเฉพาะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนาไปใช้ผลิตไม้ดอกกระถาง ต้นไม้ภายในโรงเรือนเพาะชำ ต้นไม้ภายในบริเวณบ้านพัก และสวนภูมิทัศน์ต่างๆ ซึ่งจะสามารถยืดระยะเวลาการดูแลและบำรุงได้ยาวนานขึ้น และการใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใช้เป็นเวลานาน แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตพืช ซึ่งจะก่อให้เกิดโครงสร้างของดินที่แย่ลงเมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน

กิจกรรมฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School