ธนาคารน้ำใต้ดิน Ground Water Bank : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School

                   ธนาคารน้ำใต้ดิน คือ การที่เราขุดหลุมลักษณะก้นครก เพื่อจัดกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูฝนไว้สู่ใต้ดิน ตั้งระดับใต้ดินถึงความลึกของหลุมที่ขุด เพื่อให้น้ำกระจายออกในแนวระนาบ (เปิดอากาศให้ผิวดิน) เพราะหากเราไม่จัดเก็บน้ำลงสู่ใต้ดิน แล้วปล่อยให้น้ำฝนไหลทิ้งตามผิวดิน เมื่อน้ำฝนที่ไหลทิ้งเหล่านี้ไปรวมตัวกันเยอะก็จะเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมขังดังเช่นในปัจจุบัน และหลุมนี้ยังเป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้ชั้นผิวดิน จากดินที่แห้งแข็งก็จะนุ่มชุ่มชื้น ทำให้ต้นไม้ในบริเวณที่ทำธนาคารน้ำใต้ดิน จะอุดมสมบูรณ์ไม่แห้งแล้ง เปรียบเสมือนเราเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้เป็นที่ชุ่มผืนใหญ่ หรือกระถางต้นไม้แบบแก้มลิงขนาดใหญ่ หากพวกเราร่วมมือกันทำทุกบ้าน ก็จะคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนป่า และรักษาแหล่งน้ำให้ยังคงมีน้ำเพียงพอสำหรับฤดูแล้ง ทำให้สัตว์ป่ามีน้ำดื่ม ไม่ตัดออกจากป่ามารบกวนชุมชน อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาเรื่องไฟป่าไปด้วย

                   ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตปัญหา เรื่องการจัดการน้ำเป็นอย่างมาก หลักการธนาคารน้ำใต้ดินของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณโดยท่านหลวงพ่อสมาน  สิริปัญโญ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ปฏิบัติแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม น้ำขัง น้ำดื่ม จนประสบความสำเร็จแล้วในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นวิธีการจัดการน้ำที่สากลทั่วโลกยอมรับ และใช้เป็นวิธีหลักในการจัดการะบบน้ำอย่างยั่งยืนในหลายประเทศ

                   หากเราลองคิดสมมุติว่า ถ้าเราต้องการเก็บน้ำฝนทั้งหมดที่ตกจากหลังคาบ้านซึ่งเป็นน้ำสะอาดในช่วงฤดูฝนโดยใช้โอ่ง เราคงต้องใช้จำนวนมากจนไม่มีที่จะวางเลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันเราปล่อยน้ำฝนที่สะอาดเหล่านี้ทิ้งไปจนเกิดปัญหาน้ำท่วมทุกปี และแก้ไขปัญหาโดยการสูบน้ำผลักดันให้ไปท่วมพื้นที่อื่นต่อเพื่อปล่อยระบายลุ่มแม่น้ำ จากแม่น้ำก็ลงทะเล ซึ่งเรามักจะขาดแคลนน้ำจืดหลังฝนหมด และเกิดปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ภัยพิบัติเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ และหากเราเก็บน้ำฝนลงใต้ดินไว้เยอะเพียงพอ น้ำฝนเหล่านี้ก็จะเป็นต้นทุนชาร์จเก็บลงสู่ชั้นบาดาล ด้วยวิธีการธรรมชาติ และเมื่อน้ำใต้ดินของเรามีความอุดมสมบูรณ์เหมือนดังเช่นในอดีต ประเทศเราจะกลับมาเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ เช่นเดิม และสามารถนำมาใช้สำหรับการเกษตรต่อไป

ขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด

          1. กำหนดจุดรวมน้ำของหมู่บ้าน/ชุมชน ขุดบ่อกว้างขนาด 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตรหรือมากกว่านั้นตามแต่พื้นที่ (เหมาะสำหรับการบริหารจัดการน้ำในครัวเรือน)

          2. นำวัสดุหยาบ เช่น เศษถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก เศษอิฐ หิน ท่อนไม้ ยางล้อเก่า (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.20 เมตร และควรมีท่อระบายอากาศขนาดตามความเหมาะสมเพื่อช่วยในการระบายอากาศในบ่อ และช่วยให้น้ำที่ไหลลงบ่อมีการกระจายตัวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

          3. ขอบบ่อที่เหลือนำฝาตาข่ายมุ้ง หรือผ้าสแลนปูทับด้านบนเพื่อกรองสิ่งสกปรก

                   4. นำหินขนาด 3/5 หรือ 3/8 หรือ ทรายหยาบใส่ให้เสมอปากบ่อ เพื่อป้องกันมิให้สิ่งปนเปื้อนที่มากับน้ำ เช่น ขยะไขมัน หรือสิ่งสกปรกที่มากับน้ำลงไปในบ่อและยังง่ายต่อการดูแลรักษา   

          5. ทดสอบระบบบ่อธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร สามารถเติมน้ำลงเข้าใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 5 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง หรือประมาณ 5,000 ลิตร/ชั่วโมง การเดินทางของน้ำใต้ดิน เดินตามช่องอากาศของรากไม้ โดยอาจใช้หญ้าแฝกสร้างทางน้ำใต้ดินได้เป็นอย่างดี น้ำใต้ดินเดินทางด้วยอากาศเป็นตัวนำพาน้ำ เช่นเราดูดน้ำจากหลอด

ผลการดำเนินงาน

          1. นักเรียนมีความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและมลพิษที่เกิดจากการเผาทำลายขยะพลาสติกและยางรถ

          2. นักเรียนเห็นความสำคัญของการนำขยะพลาสติกและยางรถกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ และไม่

ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

          3. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ชุมชนของตนเอง

          4. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ประโยชน์ที่ได้รับ

          1. ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น

          2. ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง เพราะสามารถสูบน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินใช้ได้ตลอดเวลา

          3. แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิดจะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น

         4. ช่วยโรงเรียนลดปริมาณของขยะประเภท ขวดน้ำพลาสติก ล้อยาง ได้

          5. โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้เพื่อให้ความรู้กับนักเรียน และผู้ที่สนใจในเรื่อง การทำธนาคารน้ำใต้ดิน

ธนาคารน้ำใต้ดิน Ground Water Bank : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School