ปุ๋ยหมักชีวภาพ/อาหารดิน : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School

ที่มา และความสำคัญ

          ปัจจุบันดินปุ๋ยมีราคาแพงหาซื้อยาก ต้องออกไปซื้อที่ท้องตลาดเท่านั้นสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลาคณะผู้ดำเนินโครงงานพบว่าใบไม้บางชนิดมีคุณสมบัติพิเศษ เมื่อย่อยสลายแล้วกลายเป็นปุ๋ยเป็นอาหารของพืชทำให้ธัญพืชเติบโต เช่น ใบจามจุรี

          ใบจามจุรีเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย ใบจามจุรีมีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง เมื่อผสมกับดินร่วน และมูลสัตว์ต่างๆแล้วจะย่อยสลายกลายเป็นดินปุ๋ยได้ง่าย สามารถนำมาผลิตเป็นดินปุ๋ยทดแทนปุ๋ยตามท้องตลาดได้เป็นอย่างดี

          คณะผู้ดำเนินโครงงานเรื่องอาหารดิน ได้เล็งเห็นประโยชน์ของใบจามจุรีดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงงานเรื่องอาหารดิน ที่ผลิตขึ้นจากใบจามจุรีเพื่อทดแทนดินปุ๋ยจากท้องตลาด  และเพื่อลดค่าใช้จ่าย

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อทราบคุณสมบัติพิเศษของใบจามจุรีเพื่อนำมาผสมกับดินร่วน

          2. เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติพิเศษระหว่างปุ๋ยจากใบจามจุรีกับดินปุ๋ยชนิดอื่น ๆ

          3. เพื่อผลิตดินปุ๋ยขึ้นจำหน่าย และใช้เอง เพื่อทดแทนดินปุ๋ยจากท้องตลาด เป็นการดำเนินตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวแปร

          ตัวแปรต้น

                             ใบจามจุรี  ดินร่วน มูลสัตว์ กากน้ำตาล และสาร EM

          ตัวแปรตาม

                             การย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยของใบจามจุรี ดินร่วน และ  มูลสัตว์

          ตัวแปรควบคุม

                             ปริมาณส่วนผสมระหว่างใบจามจุรี  ดินร่วน มูลสัตว์ กากน้ำตาล และสาร EM

สมมติฐานในกาศึกษาค้นคว้า

          ใบจามจุรีเมื่อนำมาผสมกับดินร่วนตามอัตราที่เหมาะสม เมื่อใบจามจุรีย่อยสลายแล้ว การย่อยสลายของใบจามจุรี อาจจะกลายเป็นดินปุ๋ยได้

           สรุปผลการทดลองอาหารดิน (ดินปุ๋ย) ทั้ง 3 ชนิด โดยการนำไม้ประดับมาปลูกลงในกระถางอาหารดิน (ดินปุ๋ย) ทั้ง 3 ชนิด ใช้กระถางสำหรับปลูกขนาดเดียวกันและเหมือนกัน วางอยู่ในภูมิอากาศเหมือนกันและใช้ไม้ประดับที่มีระยะเวลาปลูกเท่ากัน โดยการสังเกตได้ผลสรุปดังต่อไปนี้

 

สรุปผล

           อาหารดินที่ทำจากใบจามจุรี

                   อยู่ในเกณฑ์ดีที่สุด (อันดับ 1) ติดรากใช้เวลา 15 - 20 วัน แตกใบอ่อนเพิ่ม 2 เท่าตัว แตกหน่อใหม่

1 - 2 หน่อ ใช้เวลาเพียง 2 เดือน และแตกหน่ออ่อนเพิ่ม 3 เท่าตัว ต้นสูงขึ้น 1 เท่าตัว แตกหน่อใหม่ 3 - 6 หน่อ ใบเป็นทรงพุ่ม เขียวชอุ่ม แข้งแรงและสวยงาม
                  เนื่องจากใบจามจุรีเป็นใบไม้ที่ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยง่ายแปรสภาพดินให้มีสีดำและร่วนซุยเร็ว ไม่เกิดเชื้อรา ไม้ดอกไม้ประดับจึงเจริญเติบโตได้เร็วกว่าดินปุ๋ยชนิดอื่น ๆ     

          อาหารดินที่ทำจากใบไทร

                   อยู่ในเกณฑ์ดี (อันดับ 2) ติดรากใช้เวลา 15 - 20 วัน แตกใบอ่อนเพิ่ม 1 เท่าตัวใช้เวลาเพียง 2 เดือน ต้นสูงขึ้น 2 เท่าตัวจากเดิมและ แตกหน่อใหม่ 1 หน่อ ใช้เวลา5 - 6 เดือน
                   เนื่องจากใบไทรเป็นใบไม้ที่ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยช้ากว่าใบจามจุรี   แปรสภาพดินให้มีสีดำและร่วนซุยได้ช้า และเกิดเชื้อราง่าย เพราะใบไทรชื้นง่าย

          อาหารดินที่ทำจากใบมะม่วง

                   อยู่ในเกณฑ์พอใช้ (อันดับ 3) ติดรากใช้เวลา15 - 20 วัน แตกใบอ่อน 2 ใช้เวลาเพียง 2 เดือน แตกใบอ่อน1 เท่าตัว ใช้เวลา 5 - 6 เดือนต้นสูงขึ้น 3 เท่าตัวจากเดิม เนื่องจากใบไทรเป็นใบไม้ที่ย่อยสลายยากแปรสภาพดินให้มีสีดำยาก จึงทำให้ไม้ดอกไม้ประดับไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร

รายละเอียดการดำเนินงาน

          การทำปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ

                   ส่วนผสมและวิธีการทำต่อไปนี้

1. สารเร่ง 1 ถุง

2. กากน้ำตาล 5 ลิตร

3. น้ำเต็มถัง 200 ลิตร

4. หมักไว้อย่างน้อย 1 วันใช้ได้ (นำหัวเชื้อชีวภาพมาใช้)

5. นำเศษใบไม้ 1 ตันโดยประมาณ

6. หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตรโดยประมาณ

7. นำดินร่วน มูลสัตว์กับใบจามจุรีมาคลุกเคล้าผสมให้มันเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำกากน้ำตาลผสม

    กับน้ำ แล้วรดบนดินร่วนที่ผสมกับใบจามจุรีแล้ว หมักไว้เป็นเวลา 30 - 45 วัน

8. ใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในโรงเรียนและจัดจำหน่าย

          การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

                   ส่วนผสมและวิธีการทำต่อไปนี้

1. สารเร่ง 1 ถุง

2. กากน้ำตาล 5 ลิตร 

3. น้ำเต็มถัง 200 ลิตร

4. ใส่ส่วนผสมลงไปและคนให้เข้ากัน

5. หมักไว้อย่างน้อย 1 วันใช้ได้ (นำหัวเชื้อชีวภาพมาใช้) 

6. นำเศษใบไม้ 1 ตันโดยประมาณ 

7. หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตรโดยประมาณ 

8. นำมารดบนเศษใบไม้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 

9. ใส่บรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ภายในโรงเรียนและจัดจำหน่าย ใส่ถุงบรรจุภัณฑ์ เพื่อ

   นำไปใช้ประโยชน์ภายในโรงเรียนและจัดจำหน่าย

          ผลการดำเนินงาน

                    1. นักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน และหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ เข้า

              ร่วมกิจกรรม

                    2. นักเรียนและคนชุมชนเกิดการเรียนรู้เนื่องมาจากประสบการณ์ตรง สามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพขึ้น

              จำหน่าย และใช้เอง ทดแทนปุ๋ยจากท้องตลาด เป็นการดำเนินตามรอยพระราชดำรัสปรัชญาของ  

              เศรษฐกิจพอเพียง

                   3. บริเวณโรงเรียนสะอาด และมีสภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะต่อการเรียนรู้

         

 

 

 

          ประโยชน์ที่ได้รับ

        1. โรงเรียนสะอาดลดปริมาณของขยะย่อยสลายได้หรือขยะอินทรีย์ได้เป็นจำนวนมาก

        2. สามารถสร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักชีวภาพได้

                    3. สามารถนำมาใช้ในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษและเมื่อพืชผักโตก็สามารถนำไปรับประทานหรือจัดจำหน่ายต่อไป

                   4. ลดปัญหาการเกิดมลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้ใบไม้ซึ่งโรงเรียนจะกวาดใบไม้ เศษหญ้า ขยะอินทรีย์ต่างๆ แล้วนำมาใส่ในเสวียนเพื่อใช้เป็นปุ๋ยต้นไม้ บางส่วนก็นำไปทำปุ๋ยหมักแห้ง และนำไปเป็นส่วนผสมของดินผสมปลูกต้นไม้ต่อไป

                   5. โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้เพื่อให้ความรู้กับนักเรียน และผู้ที่สนใจในเรื่อง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพ/อาหารดิน : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School